เมื่อพูดถึง “สปา” ความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ก็จะหมายถึง ธุรกิจเพื่อสุขภาพที่มีเรื่องของความงาม เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่ในความเป็นจริงคำว่า สปา มีความหมายกว้างกว่านั้นสำหรับผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจเปิดร้านนวดสปา มีเรื่องที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจอีกมาก ส่วนจะมีอะไรบ้างบทความนี้มีคำแนะนำ
3 ประเภทธุรกิจสปา และกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจสปา
สำหรับการทำธุรกิจประเภทนี้ มีกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสปา โดยเฉพาะประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกที่มีการออกกฎหมายในการทำธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ นอกจากนั้นยังมีการกำหนดความหมายของการนวดไว้ ตัวอย่าง เช่น
- นวดแผนไทย หมายถึงการนวดเพื่อรักษาโรค ซึ่งผู้ที่จะทำการนวดแผนไทยได้นั้นจะต้องเป็นผู้
ที่สอบใบวิชาชีพได้เท่านั้น
- การนวดในสปา จะใช้คำว่านวดแผนไทยเพื่อสุขภาพ โดยมีการแบ่งประเภทและลักษณะการ
ดำเนินธุรกิจในหลายรูปแบบ และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมาย
สำหรับการประกอบธุรกิจสปาและนวดแผนไทย ประกาศกระทรวงสาธารณสุขตามพระราช
บัญญัติสถานบริการได้กำหนดรูปแบบของธุรกิจสปา หรือ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพไว้ 3 ประเภท ดังนี้
1.กิจการสปาเพื่อสุขภาพ
คือ การประกอบกิจการที่ให้การดูแลเสริมสร้างสุขภาพ บริการที่เกี่ยวกับการดูแลและเสริมสร้าง สุขภาพโดยวิธีการบำบัดด้วยน้ำ และการนวดร่างกายเป็นหลัก
2.กิจการนวดเพื่อสุขภาพ
คือ การประกอบกิจการที่ให้การดูแลด้วยการนวดเพื่อการผ่อนคลายกล้ามเนื้อหรือนวดเพื่อคลาย ความเมื่อยล้า เช่น การนวดแผนไทย (ที่ไม่ใช่การรักษาโรค) และการนวดฝ่าเท้า
3.กิจการนวดเพื่อเสริมสวย
คือ การประกอบกิจการ ด้วยการนวดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมความงาม เช่น การนวดในร้านทำผมหรือร้านเสริมความงาม

กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจสปา ที่ผู้ประกอบการควรรู้
การเปิดร้านนวดสปา หรือประกอบกิจการเกี่ยวกับธุรกิจทั้ง 3 ประเภท มีต้องอยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมาย คือ พรบ.การสาธารณสุขและประกาศกระทรวงสาธารณสุข ตาม พรบ. สถานบริการ นอกจากนั้นยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายประกันสังคม พรบ.ภาษีสรรพสามิต กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและอื่น ๆ
นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่สนใจเปิดร้านนวดสปา นอกจากจะต้องทำความเข้าใจกับความหมายและประเภทของสปาอย่างเข้าใจแล้ว กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจสปาก็มีความสำคัญและจำเป็น เพราะไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการนวดหรือให้บริการสปาเท่านั้น แต่ยังต้องดำเนินกิจการภายใต้การควบคุมของ พรบ.การสาธารณสุขและประกาศกระทรวงสาธารณสุข ตาม พรบ. สถานบริการ รวมไปถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการว่าจ้างแรงงาน การจัดสวัสดิการและการประกันสังคมอีกด้วย