Spa Knowledgeรายการเรื่องเล่าธุรกิจสปาเปิดร้านสปา เปิดร้านนวด

เคล็ดไม่ลับ บริหารธุรกิจสปาอย่างไร ไม่ให้ขาดสภาพคล่อง

ธุรกิจสปา นวด สุขภาพ ความงาม

          ปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจทุกประเภท โดยเฉพาะธุรกิจการให้บริการอย่างร้านนวดสปาถือเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกให้ผู้ประกอบการรู้ว่าธุรกิจกำลังมีความเสี่ยงในทุกๆด้าน สำหรับเคล็ดลับการบริหารธุรกิจสปาเพื่อป้องกันปัญหาการขาดขาดสภาพคล่องผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจกับหลายๆปัจจัยต่อไปนี้

ปัญหาขาดสภาพคล่อง คืออะไร

          ความหมายของ การขาดสภาพคล่อง ก็คือปัญหาที่เงินสด หรือกระแสเงินที่ใช้หมุนเวียนเป็นค่าใช้จ่ายภายในร้านนวดสปามีไม่เพียงพอ เช่น จ่ายเงินเดือนพนักงานไม่ตรงกำหนดเวลา ถึงแม้จะเป็นการขาดสภาพคล่องเพียงช่วงสั้นๆ ก็สามารถสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจสปาได้มากมาย

สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจสปาขาดสภาพคล่อง

                ธุรกิจบริการที่ขาดสภาพคล่อง อย่างเช่น การเปิดร้านนวดสปา ถึงแม้จะมีลูกค้าใช้บริการและมีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ แต่ยังประสบกับปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ประกอบการขาดการวางแผน การบริหารไม่มีขั้นตอนการทำงานที่เป็นระบบ มีการขยายร้านหรือแตกสาขาออกไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่ได้พิจารณาความพร้อมทั้งกำลังคนและฐานะทางการเงินในภาพรวมของธุรกิจ ขยายสาขาเพราะเห็นยอดรายได้ที่ลูกค้าเข้ารับการบริการ โดยไม่พิจารณาปัจจัยอื่นๆเป็นส่วนประกอบ

เคล็ดไม่ลับสำหรับการแก้ปัญหา

                สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจสปา ที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่ วิธีแก้ปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน ต้องเริ่มต้นจากการปรับแนวคิดของตัวเราเอง แล้ววิเคราะห์ถึงสาเหตุ เพื่อนำมาวางแผนว่าควรจะบริหารหรือหมุนเงินอย่างไรได้ผลกำไรเข้ามามากๆ โดยไม่สะดุดและขาดสภาพคล่องทางการเงิน

เคล็ดลับ บริหารธุรกิจสปาอย่างไร ไม่ให้ขาดสภาพคล่อง

          1. สำรวจว่ามีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้เป็นปัจจุบันหรือไม่  เพราะบัญชีรายรับรายจ่าย สำคัญและจำเป็นสำหรับธุรกิจทุกประเภทการจัดทำบัญชี จะทำให้เรารู้สถานะทางการเงิน รู้ว่าวันนี้มีรายได้รายจ่ายมากน้อยเพียงใด มีเงินสดคงเหลืออยู่ในมือหรือมีอยู่ในธนาคารมากน้อยเพียงใด

          2. บริหารทรัพยากรบุคคล ธุรกิจสปา เป็นงานบริการที่จำเป็นจะต้องมีผู้ให้บริการที่เพียงพอต่อผู้รับบริการ ต้องพิจารณาว่าความสอดคล้องในการให้บริการระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการสมดุลกันหรือไม่ อาจมีการจัดวางตารางการให้บริการอย่างเป็นระบบ เพื่อลดค่าใช้จ่ายหรือลดพนักงานลง เพื่อแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่อง

          3. ปรับรูปแบบการให้บริการและการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า เช่น ใช้สื่อออนไลน์ในการประชาสัพพันธ์ การแจ้งข้อมูลข่าวสาร และปรับรูปแบบการให้บริการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับการบริการ เช่น จัดโปรโมชั่นหรือมีการผสมผสานรูปแบบการให้บริการ เพื่อให้ลูกค้าได้มีตัวเลือกเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผลให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

          4. สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เพราะหัวใจสำคัญของธุรกิจการให้บริการก็คือความพึงพอใจในการงานบริการที่มีคุณภาพ ต้องทำทุกวิธีให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ และไม่หนีไปใช้บริการที่อื่น  เช่น ใช้บริการรับ consult สปา หรือจัดอบรมพนักงาน โดยผู้มีความรู้โดยตรงเพื่อเพิ่มทักษะให้กับพนักงาน

          5. บริหารการเงินอย่างเป็นระบบ  แยกเงินส่วนตัวออกจากเงินที่ใช้บริหารธุรกิจ เพราะการบริหารเงินอย่างเป็นระบบ นอกจากป้องกันการขาดสภาพคล่องได้ดีแล้ว  การบริการการเงินยังเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ต่อสู้กับคู่แข่งด้านการตลาดได้อย่างเห็นผล